วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 

การทำสุ่มไก่

ประวัติการสานสุ่มไก่
เริ่มครั้งแรกเมื่อ 40 กว่าปีก่อน มีชาวบ้านละแวกนี้ 3 - 4 คน สานสุ่มไก่ขึ้นมาใช้เอง ปรากฏว่ามีผู้สนใจขอซื้อ จึงใช้เวลาว่างหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา ทำไร่ สานสุ่มไก่ขึ้นมาขายเป็นอาชีพเสริม ปรากฏว่าตลาดยังต้องการมากขึ้นๆ จนคนในหมู่บ้านทำจักสานสุ่มไก่กันอย่างแพร่หลายสามารถประกอบอาชีพสานสุ่มไก่เป็นอาชีพหลัก โดยเลิกการทำนาไร่ เพราะมีรายได้ดีกว่ากันมาก จักสานสุ่มไก่ของตำบลถูกส่งไปขายทั่วประเทศไทย ปัจจุบันตำบลหัวถนนเป็นแหล่งผลิตจักสานสุ่มไก่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นการสานสุ่มไก่


ขั้นตอนแรกเริ่ม หาไม้ไผ่ขนาดที่พอดีไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
ขั้นตอนการสานสุ่มไก่
ขั้นที่ 1
:
ผ่าลำไผ่ออกเป็นเส้นๆ
ขั้นที่ 2
:
เหลาตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน ความกว้างของตอก แต่ละแบบโดยประมาณ ตอกยืน 1.3-1.7 เซนติเมตร ตอกยาว 0.8 เซนติเมตรและ ตอกไผ่ตีน 1.6-2.0 เซนติเมตร

ขั้นที่ 3
:
ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อ
ไม่ให้สุ่มขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
ขั้นที่ 4
:
เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขั้น
ขั้นที่ 5
:
ขุดหลุมตอกหลัก มัดข้อไผ่กับหลักมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้างเพื่อยึดสุ่มไก่การสานขึ้นรูป
ขั้นที่ 6
:
ใช้ตอกยาวสานรอบๆสุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง โดยจุดเริ่มต้น
ลายมูยโดยจุดเริมเปลี่ยน
ขั้นที่ 7
:
สุ่มไก่ที่สามารถนำไปจำหน่ายได้
การสานสุ่มไก่
การจักรสานวิถีไทย นับพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์ได้รู้จักวิธีการนำวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว มาดัดแปลงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ จากขั้นตอนที่ง่ายจนวิวัฒนาการสู่ความละเอียดอ่อน ประณีตงดงามในเชิงศิลปะและประโยชน์ใช้สอย จนสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี และสืบทอดมาจนปัจจุบัน กรรมวิธีดังกล่าว ช่วยให้มนุษย์ได้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เราเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า “หัตถกรรม” อันหมายถึง การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือ เครื่องมือ ภูมิปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และถ้าสิ่งประดิษฐ์นั้นมีค่ามากกว่าการใช้สอย โดยรวมความงาม เน้นให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ ประณีตงดงามเป็นความละเอียดอ่อนในทางศิลปะ เรามักเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า “ หัตถกรรมศิลป์ ” เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า สาน ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ จนท้ายที่สุดเป็นภาชนะสามารถนำไปใช้สอยได้ตามต้องการ
ความเป็นมาของการสานสุ่มไก่ ความเป็นมาของการทำสุ่มในหมู่บ้านมีชาวบ้านจำนวนมากที่ชื่นชอบและนิยมกีฬาชนไก่ จึงมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นจำนวนมาก และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูไก่ชนอย่างใกล้ชิดคือสุ่มไก่ ซึ่งสุ่มไก่นี้สานได้ง่าย มีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดี การสานสุ่มไก่นี้ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานมากสืบทอดมาทั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ จึงได้มีการสานสุ่มสืบต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันก็ได้สานสุ่มเป็นอาชีพ เพราะด้วยวัยที่มากขึ้นทุกวัน ไม่สามารถออกไปทำงานได้ จึงยึดอาชีพสานสุ่มไก่ขายเป็นหลัก
ขั้นตอนการสานสุ่มไก่
ขั้นที่ 1 หาไม้ไผ่ขนาดพอดีไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
ขั้นที่ 2 ผ่าลำไผ่ออกเป็นเส้นๆ
ขั้นที่ 3 เหลาตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน ความกว้างของตอก แต่ละแบบโดยประมาณ ตอกยืน 1.3-1.7 เซนติเมตร ตอกยาว 0.8 เซนติเมตรและ ตอกไผ่ตีน 1.6-2.0 เซนติเมตร
ขั้นที่ 4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูปหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่มขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
ขั้นที่ 5 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูปใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม
ขั้นที่ 6 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้นขั้นที่ 7 การเลื่อยตัดปลายตอกยืนตีนสุ่มไก่ที่ยื่นยาวทิ้งไป
ขั้นที่ 8 ได้สุ่มไก่ที่เสร็จสมบรูณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น